วางแผนการยื่นกู้ธนาคารสำหรับ สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน
ReadyPlanet.com
dot
dot
แบบบ้าน - รับสร้างบ้าน
dot
bulletบ้าน Classic House ( 8 แบบ )
bulletบ้านใบบัว (5 แบบ)
bulletบ้านไออุ่น (7 แบบ)
bulletบ้านเคียงฟ้า (3 แบบ 4 แปลน)
bulletบ้านคริสตัล (4 แบบ)
bulletThe Grand (16 แบบ)
bulletบ้านล้านนา (มากกว่า 50 แบบ)
bulletบ้านอิ่มบุญ (9 แบบ)
bulletบ้านอิตาลี (3 แบบ)
bulletบ้าน 3 ชั้น (6 แบบ)
bulletบ้านอเมริกัน คันทรี (x แบบ)
bulletบ้านโมเดิร์น (x แบบ)
dot
แบบบ้าน "ฟรี"
dot
bulletแบบบ้านพอเพียง (17 แบบ)
bulletแบบบ้านกรุงเทพ (26 แบบ)
bulletแบบบ้านเพื่อประชาชน (8 แบบ)
bulletแบบบ้านยิ้ม
dot
วัสดุ สร้างบ้าน
dot
bulletรุ่น Standard Series
bulletรุ่น Premium Series
bulletรุ่น Exclusive Series
bulletรุ่น Luxury Series
dot
ขาย แบบบ้านสำเร็จรูป
dot
bulletแบบบ้านสำเร็จรูป 1 ชั้น
bulletราคาแบบบ้านสำเร็จรูป
bulletเขียนแบบ แบบก่อสร้าง
bulletออกแบบบ้าน อาคาร ใหม่
bulletตรวจสอบ งานก่อสร้าง
bulletรับสร้างบ้าน ราคาต้นทุน
bulletธุรกิจ ที่ดิน/บ้าน จัดสรร
bulletขั้นตอนการรับสร้างบ้าน
bulletผลงาน (บางส่วน)
dot
แหล่งความรู้
dot
bulletบทความ เกี่ยวกับบ้าน
bulletบ้านประหยัดพลังงาน
bulletเรื่องเล่า (จากปัญหาจริง)
bulletรับสร้างบ้าน ต่างจังหวัด
bulletกระดานถามตอบ
dot
รับข่าวสาร บริษัทรับสร้างบ้าน

dot


id line thai house builder
House builder home building construction
บริษัท อุ่นใจ รับสร้างบ้าน
โปรโมชั่น สุดคุ้ม เมื่อสร้างบ้านกับอุ่นใจ
บทความเกี่ยวกับบ้าน สาระหน้ารู้ต่างๆเกี่ยวกับการสร้างบ้าน
Colonial Style แบบบ้านโคโลเนียน ปากช่อง เขาใหญ่
บ้านอิตาลี บ้านยุโรป
สร้างบ้านสองชั้น ราคาถูก สร้างบ้านสวยๆ
บ้านล้านนา ลานนา เรือนไม้ เฮื้อน บ้านภาคเหนือ


วางแผนการยื่นกู้ธนาคารสำหรับ สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน article

 

วางแผนการยื่นกู้ธนาคาร สำหรับสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน

 

ผู้เขียน : หมอกแก้ว โดย “อุ่นใจ รับสร้างบ้าน”

 

สำหรับท่านที่มีที่ดินอยู่แล้ว ต้องการก่อสร้างบ้านในฝันบนที่ดินของท่าน ถ้าท่านมีเงินสดเพียงพอสำหรับสร้างบ้าน ท่านเพียงจัดหาสถาปนิกออกแบบ้าน, เลือกแบบบ้านฟรีหรือใช้บริการ บริษัทรับสร้างบ้าน / ผู้รับเหมา ก่อสร้างบ้านให้ท่าน แต่ถ้าท่านมีเงินสดไม่เพียงพอและต้องยื่นกู้ธนาคารขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน ท่านควรวางแผน เตรียมตัว ให้พร้อมก่อนยื่นกู้ เพื่อให้ท่านได้รับการการอนุมัติสินเชื่อตรงใจท่าน รวมถึงไม่มีอุปสรรคด้านสภาพคล่องระหว่างก่อสร้าง ท่านควรวางแผนดังต่อไปนี้

1.  เตรียมตัวก่อนยื่นกู้ สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน

การยื่นกู้สินเชื่อเพื่อ สร้างบ้าน ท่านควรเตรียมตัวคล้ายกับการยื่นกู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านใหม่ นอกจากควรจะมีเงินสำรองในธนาคาร มีเงินเก็บพอสมควรแล้ว การยื่นกู้สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านนั้นโฉนดที่ดินเป็นหลักทรัพย์ที่สำคัญ ธนาคารจะพิจารณาที่ดินที่ไม่ติดภาระกับสถาบันการเงินเป็นอันดับแรกๆ แต่ถ้าที่ดินของท่านติดภาระ เช่น จำนองไว้กับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว  ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปยื่นกู้ไม่ได้  เพียงแต่ธนาคารจะมีเกณฑ์พิจารณาและขั้นตอนต่อไปอีก และถ้าโฉนดที่ดินมีมูลค่าสูงมากกว่าค่าก่อสร้างบ้านมาก ถือเป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเป็นที่สนใจของธนาคาร

สำหรับท่านที่มีเงินสำรองไม่มาก อย่าเพิ่งหมดหวังในการยื่นกู้  เพราะธนาคารแต่ละแห่งจะมีเงื่อนไขปลีกย่อยอีก ท่านสามารถพูดคุยเจรจากับธนาคารในรายละเอียดได้

 

2.  ตั้งงบประมาณ การปลูกสร้างบ้าน

ท่านย่อมทราบว่า บ้านของท่านควรจะมีกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ จอดรถได้กี่คัน ขนาดของโถงนั่งเล่นกว้างๆ ฯลฯ ท่านนำความต้องการนี้ไปหาข้อมูลเพื่อประมาณราคาก่อสร้างบ้าน ไม่ว่าจะปรึกษากับสถาปนิกเพื่อให้ออกแบบบ้านและประมาณราคาก่อสร้างบ้าน, หาแบบบ้านฟรีที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งจะมีประมาณการค่าก่อสร้างมาด้วย หรือหาบริษัท รับสร้างบ้าน ที่มีแบบบ้านตรงใจท่านพร้อมราคาที่เหมาะสม ซึ่งหลายๆบริษัทฯ ท่านสามารถขอปรับแบบบ้านได้บ้าง หรือท่านอาจจะซื้อแบบบ้านสำเร็จรูปพร้อมรายการประมาณค่าก่อสร้างได้เช่นกัน

ในขั้นตอนนี้ปัญหาที่พบบ่อยคือ ประมาณราคาก่อสร้างถูกกว่าค่าก่อสร้างจริง  เช่น แบบบ้านฟรีที่ท่านเลือกจะมีประมาณค่าก่อสร้างมาให้ แต่เมื่อท่านให้ผู้รับเหมาก่อสร้างประมาณราคาก่อสร้างจริง กลับมีราคาที่สูงกว่ามาก ทั้งนี้เพราะประมาณค่าก่อสร้างที่แสดงในแบบบ้านฟรี  อาจจะเป็นราคาเมื่อหลายปีก่อน, สถานที่ก่อสร้างท่านอาจอยู่ในพื้นที่ ที่มีราค่าขนส่งสูง หรือท่านอาจจะใช้วัสดุตกแต่งที่มีราคาสูงกว่าแบบฟรีทั่วไป เป็นต้น

 

3.  เลือกธนาคารที่สนใจ ขอรับคำปรึกษา  และพิจารณาวงเงินของท่านเบื้องต้น

ธนาคารแต่ละแห่ง มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ท่านควรศึกษาเงื่อนไขต่างๆด้วยตัวท่านเอง ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ย, ค่าธรรมเนียมต่างๆ, วงเงินที่จะได้รับสินเชื่อ, มูลค่าหลักทรัพย์  (ที่ดินและบ้านที่จะสร้าง) ที่ธนาคารจะประเมินให้ท่าน และที่สำคัญอีกประการคือ การจ่ายวงเงินสินเชื่อ โดยจะจ่ายเป็นงวดๆ แต่ละงวดธนาคารจะจ่ายเมื่องานก่อสร้างในส่วนใดเสร็จบ้าง  และจ่ายในจำนวนเท่าไรเรียกง่ายๆว่า “เกณฑ์การแบ่งจ่ายงวดเงินกู้” ก็ได้

ท่านควรคัดเลือกธนาคารที่มีเงื่อนไขตรงใจกับท่านสัก 3 ธนาคาร และนำเอกสารต่างๆรวมถึงสำเนาโฉนดที่ดิน, ร่างแบบบ้านและประมาณการค่าก่อสร้าง เข้าปรึกษาธนาคารที่ท่านคาดหวังไว้ เพื่อพิจารณาวงเงินของท่านเบื้องต้นพร้อมรวบรวมข้อมูล เงื่อนไขต่างๆของธนาคาร เก็บกลับมาเป็นข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกธนาคารที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด

 

4.   เลือกบริษัท รับสร้างบ้าน / ผู้รับเหมา

นอกจากแบบบ้านที่ตรงใจ และราคาก่อสร้างที่ลงตัวแล้ว ท่านควรจะพิจารณาบริษัท รับสร้างบ้าน/ ผู้รับเหมา ที่จัดทำสัญญาโดยมี เกณฑ์การแบ่งจ่ายงวดงาน ที่สอดคล้องกับธนาคารมากที่สุด เพื่อป้องกันสภาพคล่องระหว่างสร้างบ้าน เช่น ธนาคารบางแห่งมี “เกณฑ์การแบ่งจ่ายงวดเงินกู้” งวดแรกเมื่อบ้านตอกเสาเข็ม ทำพื้นชั้นล่าง เสร็จ แต่ บริษัท รับสร้างบ้าน / ผู้รับเหมา  เก็บเงินมัดจำเมื่อทำสัญญาว่าจ้างสร้างบ้าน 5%  และงวดที่ 1 เก็บเมื่อตอกเสาเข็มเสร็จ 10%  รวมเป็น 15% ซึ่งท่านต้องสำรองเงินล่วงหน้า 15% ก่อนที่ธนาคารจะจ่ายเงินงวดแรกให้ท่าน เป็นต้นเว้นแต่ท่านมีเงินสดสำรองมากพอ อาจจะไม่ต้อคำนึงเรื่อง “เกณฑ์การแบ่งจ่ายงวดเงินกู้” ก็ได้

ธนาคารหลายแห่ง มักจะขอสำเนาสัญญาว่าจ้างก่อสร้างด้วย ดังนั้นท่านต้องเลือกทำสัญญาว่าจ้างหรือเอกสารวางเงินมัดจำ กับ บริษัทรับสร้างบ้าน / ผู้รับเหมา ขั้นตอนนี้ ถ้าเป็นไปได้ ควรเจรจาให้วางเงินมัดจำในวันทำสัญญาหรือวางมัดจำให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ท่านกู้ไม่ผ่าน เพราะท่านอาจจะไม่ได้รับเงินส่วนนี้คืน เนืองจากบริษัทรับสร้างบ้าน/ผู้รับเหมา จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำแบบก่อสร้างให้ท่าน เพื่อนำไปยื่นขออนุญาตปลูกสร้างก่อนที่จะนำไปยื่นให้ธนาคาร

 

5.  เลือกธนาคารที่ใช่ สำหรับท่าน

เมื่อท่านได้จัดเตรียมเอกสารต่างๆเรียบร้อยแล้ว ควรนำไปยื่นกู้เพื่อสร้างบ้าน ประมาณ 3 ธนาคาร โดยคัดเลือกธนาคารที่มีเงื่อนไขสอดคล้องกับความต้องการของท่านมากที่สุด ตามที่กล่าวไว้ในข้อ และข้อ 4 ข้างต้น

ธนาคารหลายแห่งจะเก็บค่าธรรมเนียมในการประเมินหลักทรัพย์ของท่าน ธนาคารแต่ละแห่งจะพิจารณามูลค่าหลักทรัพย์ให้ท่านแตกต่างกันไป ทั้งมูลค่าที่ดิน และมูลค่าบ้านที่จะก่อสร้าง

 

6.  ตรวจสอบงานในระหว่างก่อสร้างให้สอดคล้องกับ “เกณฑ์การแบ่งจ่ายงวดเงินกู้”

เมื่อเริ่มงานก่อสร้างบ้าน จนกระทั่งจะเบิกงวดกับธนาคาร ท่านควรเข้าไปตรวจสอบความคืบหน้าของงานด้วยตนเองให้ถูกต้องสมบูรณ์ตาม “เกณฑ์การแบ่งจ่ายงวดเงินกู้” ธนาคารแต่ละแห่งจะมีระยะเวลาจ่ายงวดที่แตกต่างกัน เช่น เมื่อท่านแจ้งธนาคารว่าต้องการเบิกงวดเงินกู้ ดังนั้นระยะเวลาตั้งแต่แจ้งเบิกจนกระทั่งถึงวันที่ธนาคารโอนเงินให้ท่านอาจจะใช้เวลาถึง 15 วัน เป็นต้น

ถ้างวดงานของ บริษัท รับสร้างบ้าน / ผู้รับเหมา ตรงกับธนาคารพอดี ท่านอาจจะต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งเพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หรือเจรจากับ บริษัท รับสร้างบ้าน / ผู้รับเหมา เป็นกรณีไปได้เช่นกัน

 

7.  เมื่อบ้านในฝัน แล้วเสร็จ ขอทะเบียนบ้าน และติดมิเตอร์น้ำ/ไฟ ให้เรียบร้อย

ในงวดสุดท้ายของการเบิกเงินกับธนาคาร ท่านควรขอทะเบียนบ้าน ขอติดตั้งมิเตอร์น้ำ/ไฟ ให้เรียบร้อย เพื่อนำเอกสารไปยื่นธนาคารว่าบ้านเสร็จสมบูรณ์จริง

 

นอกจากวงเงินสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านแล้ว ท่านสามารถขอสินเชื่อเพื่อการตกแต่งได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้กู้แต่ละท่าน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุ่นใจ รับสร้างบ้าน รับสร้างบ้านคุณภาพ ทุกแบบ ทั่วไทย

 เว็บไซต์ : www.aoonjai.com โทร : 02-5149001-4

 

 

เรื่องอื่น ที่น่าสนใจ (คลิ๊กอ่านที่ภาพ)

แบบบ้านฟรี ราคาถูก     บ้านอยู่สบาย บ้านเย็น บ้านประหยัดพลังงาน




บทความ ความรู้ เรื่องบ้าน

สร้างบ้านทั้งที เลือกวัสดุแบบไหนดี
วิธีอ่าน ราคาประเมินค่าก่อสร้างบ้านตารางเมตรละเท่าไร article
ชายคาบ้าน บังแดดบังฝน : Eaves of House article
บ้านต้นแบบใช้พลังงานเป็น "ศูนย์"
10 ข้อควรรู้ก่อนเลือก แบบบ้านฟรี ไปใช้งาน article
บ้านสบายกับทิศแดด ทิศลม article
การถมดิน ว่าจ้างผู้รับเหมาถมที่ดิน article
สร้างบ้านใหม่สักหลัง ใครเกี่ยวข้องบ้าง article
10 การออกแบบระบบไฟฟ้า อย่างง่ายด้วยตัวเอง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.